วิธีติดตั้ง WordPress บนคอมพิวเตอร์ของตัวเอง (Localhost) ด้วย LocalWP

ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้วิธีการติดตั้ง WordPress ลงบนคอมพิวเตอร์แบบง่ายๆ ด้วยการใช้โปรแกรม LocalWP รวมถึงการใช้งาน Extension ต่างๆของโปรแกรม เช่น Image Optimizer และ Link Checker

เริ่มต้นใช้งาน Local

เริ่มต้นด้วยการเข้าไปที่เว็บไซต์ LocalWP เมื่ออยู่ที่หน้าเว็บไซต์แล้วให้กดปุ่มดาวน์โหลดด้านบนขวา ให้เลือก OS ที่เราใช้ Mac, Windows หรือ Linux กรอกข้อมูลให้เรียบร้อย เมื่อดาวน์โหลดสำเร็จแล้วให้ติดตั้งและเปิดโปรแกรม

เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วจะเห็นหน้าต่าง ให้กดปุ่ม “Create A New Site” เพื่อสร้างเว็บไซต์ WordPress

ตั้งชื่อเว็บไซต์ให้เรียบร้อย และกด “Continue”

เมื่อมาถึงหน้า Environment ให้เลือกตามนี้

  • PHP 7.4 ขึ้นไป อย่าเลือกเวอร์ชั่น 8 เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน (สิงหาคม 64) WordPress ยังไม่รองรับ PHP 8 อย่างสมบรูณ์แบบ อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้
  • NGINX
  • MySQL 8+ หรือ MariaDB

ตั้งค่าผู้ใช้งาน รหัสผ่าน และอีเมล์ให้เรียบร้อย หากต้องการ WordPress Multisite ให้เปลี่ยนเป็น “Yes”

เมื่อระบบทำการติดตั้งเว็บไซต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำเรามาสู่หน้า Overview ให้เราทำการเปลี่ยน

  • SSL ให้กด “TRUST” เพื่อป้องกัน Browser แจ้งว่าเว็บไซต์ไม่ปลอดภัย **เฉพาะสำหรับ Local เท่านั้น ถ้าย้ายเว็บขึ้นโฮสต์ต้องไปจัดการ SSL อีกทีนะครับ
  • เปลี่ยน One-click Admin จาก “Disable” ให้เป็น username ของเรา จะทำให้เมื่อเรากดปุ่ม Admin เราจะทำการล็อคอินเข้าสู่หน้า Dashboard ทันที

เพียงเท่านี้เว็บไซต์เราก็พร้อมใช้งานแล้ว

การจัดการเว็บไซต์ด้วย Local

Local จะมีระบบการจัดการเว็บไซต์มาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เราด้วย เช่นการจัดการฐานข้อมูล (Database) การเดโม่เว็บไซต์ออนไลน์ (Live Link) หรือ ตัวย่อขนาดรูปภาพ (Image Optimization)

เราสามารถกดที่ “Open Adminer” เพื่อเข้าไปจัดการฐานข้อมูลของเว็บไซต์

ในหน้า Tools โดยปกติแล้วจะมี

  • Mailhog เป็นตัวเก็บอีเมล์ทุกฉบับที่ถูกส่งออกจากเว็บไซต์ กรณี ลืมรหัสผ่าน เปลี่ยนรหัสผ่าน สามารถมาหาอีเมล์ได้ที่เมนูนี้
  • Live Links หากสังเกตุทางซ้ายล่างของหน้าต่างโปรแกรมจะมี Live Link อยู่ เราสามารถกด Enable เพื่อนำเว็บไซต์ขึ้นออนไลน์ได้ และสามารถเข้ามาจัดการ Live Links ทั้งหมดได้ที่เมนูนี้
  • ตัวเสริมอื่นๆ

การติดตั้งตัวเสริมของ Local

การติดตั้งตัวเสริมสามารถทำได้โดยคลิกที่เมนู Extension ด้านซ้ายของหน้าต่างโปรแกรม จากนั้นเราสามารถเลือกตัวเสริมที่เราต้องการติดตั้งได้

เมื่อกดติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เราจะต้องไปที่หน้า “Installed” เพื่อเปิดการใช้งาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *